ภาษาจีนในยุคสมัยแรก    

ไทยกับจีนมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาช้านานแล้ว มีหลักฐานที่ค้นพบใหม่ๆ ในหลายที่ซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้นับพันปี แต่กระนั้น หากกล่าวในแง่ของความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว มีหลักฐานชัดเจนว่า มีมาตั้งแต่สมัยที่รัฐสุโขทัยเรืองอำนาจเรื่อยมา จนถึงสมัยรัฐอยุธยา และรัฐกรุงเทพฯ เรืองอำนาจ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ย่อมมีการติดต่อกันไปมาระหว่างจีนและไทย โดยเฉพาะการเข้ามายังไทยของชาวจีนที่มีตั้งแต่ตัวแทนทางการทูต เจ้าหน้าที่ประจำเรือสำเภา ที่มีตำแหน่งแตกต่างกันไปนับสิบตำแหน่ง รวมทั้งผู้ที่เป็นลูกเรือระดับล่าง ฯลฯ แม้เราจะไม่ทราบจำนวนที่แท้จริง แต่ก็มีหลักฐานว่า ชาวจีนเหล่านี้มีจำนวนมาก ขนาดที่สามารถตั้งชุมชนอยู่กันในหมู่ตนเอง โดยเฉพาะที่อยุธยา



การเข้ามาของชาวจีนดังกล่าว ย่อมมีการนำภาษาจีนเข้ามาใช้ด้วยเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่น่าไปไกลถึงขั้นมีการสอนภาษาจีนกันขึ้น (อย่างน้อยก็ไม่มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นเช่นนั้น) อิทธิพลของภาษา จีนในขณะนั้น จึงไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการที่ไทยเรา จำต้องทับศัพท์คำจีนบางคำ มาใช้ในชีวิตประจำ วันไปด้วย อย่างเช่นคำว่า “อับเฉา” (ของที่มีน้ำหนักมากสำหรับไว้ในท้องเรือสำเภา เพื่อถ่วงไม่ให้เรือโคลงเวลาแล่น ส่วนใหญ่มักเป็นตุ๊กตาหินจีน) หรือชื่อตำแหน่งต่างๆ ของเจ้าหน้าที่เรือสำเภาอย่างเช่น ไต้ก๋ง เป็นต้น คำจีนทำนองนี้มีอยู่หลายคำ จนบางคำชาวไทยเราเองอาจไม่รู้ว่ามีที่มาจากคำจีน เพราะฟังดูแล้วเหมือนเป็นภาษาไทย อย่างเช่นคำว่า “จันอับ” อันเป็นขนมประเภทหนึ่งของจีน ที่นิยมใส่กล่องให้เป็นของกำนัล เป็นต้น

การปรากฏและดำรงอยู่ของภาษาจีนดังกล่าว คงไม่ได้เป็นไปอย่างเป็นทางการมากนัก ที่สำคัญก็คือว่า คำจีนเหล่านี้ไม่ได้ออกเสียงด้วยภาษาจีนกลาง แต่ออกเสียงโดยขึ้นอยู่กับชาวจีนที่นำภาษาจีนเข้ามาใช้ในไทย ว่าจะใช้ภาษาจีนสำเนียงไหน หรือท้องถิ่นไหน การที่ภาษาจีนไม่ได้ถูกใช้เป็นภาษาจีนกลางนี้ ต่อมาจะส่งผลต่อการใช้ภาษาจีนในไทยอยู่พอสมควร (ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)



อย่างไรก็ตาม ภาษาจีนได้ถูกนำมาสอนในสังคมไทยก็ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือในสมัยกรุงเทพฯ โดยหลักฐานระบุแต่เพียงว่า มีการสอนกันที่ “เกาะเรียน” จังหวัดอยุธยา ซึ่งก็ไม่มีใครทราบว่าตั้งอยู่ที่ไหนในอยุธยา และสอนกันอย่างไร หรือสอนด้วยภาษาจีนกลางหรือภาษาจีนท้องถิ่น หรือใครคือผู้เรียน แต่การที่เกิดการเรียนการสอนภาษาจีนขึ้นมานี้ สามารถชี้ให้เห็นในระดับหนึ่งว่า ชาวจีน (ไม่น่าจะมีชาวไทยรวมอยู่ด้วย) เริ่มคิดแล้วว่า ภาษาจีนมีความจำเป็นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในหมู่ชาวจีนด้วยกันเอง หรือไม่ก็ให้ลูกหลานจีน สามารถสืบทอดวัฒนธรรมจีนต่อไปได้ เพราะภาษาเป็นหัวใจในการสืบทอดที่สำคัญ ไม่ว่าจะในสังคมไหนก็ตาม



ด้วยเหตุนี้ แม้จะถูกจัดระเบียบแล้วก็ตาม โรงเรียนจีนเหล่านี้ก็ไม่ได้รับผลกระทบในด้านหลักสูตรที่ใช้สอนอยู่แต่อย่างใด ที่เคยสอนกันมาอย่างไร ก็ยังคงเป็นไปตามนั้น ตราบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นใน ค.ศ.1932 (พ.ศ.2475) ฐานะของภาษาจีน จึงถูกสั่นคลอนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

 


 

 


   เรียนภาษาจีนกับอาจารย์ วชิรวิชญ์ อิทธิการันต์กุล (Zhang Laoshi)


 

 

 

 

 

 

การเรียนภาษาจีนในชีวิตประจำวัน

 

 

 

 

สระและพยัญชนะภาษาจีน

 

 

 


 

ความรู้ทั่วไปของเมืองจีน

 

 Zhonghua Renmin Gongheguo คือ ชื่อเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน คนทั่วไปมักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า "จงกั๋ว" ซึ่งแปลว่า "อาณาจักรกลาง"

พื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากประเทศ รัสเซีย และแคนาดา พรมแดนทางบกของจีนมีความยาว 28,000 กิโลเมตร และมีชายฝั่งทะเลยาว 18,000 กิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 6,536 เกาะ คือเกาะไต้หวันและไห่หนาน    เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง

 ธงชาติ รูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง (ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กๆ ทั้งสี่ดวงหมายถึง “ชนชั้น” ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ)

เขตการปกครอง การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) , 5 เขตปกครองตนเอง                    (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) , 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง                     (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง และ 2 เขตบริหารพิเศษ (ฮ่องกง และมาเก๊า)

ศาสนาและความเชื่อ 

ในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิความเชื่อเดิม นั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่ จะเป็น หลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น ครั้นมาถึงยุคคอมมิวนิสต์ ศาสนากลับถูกว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมืองโดยตรง แต่ในช่วงหลังๆ นี้ทางการก็ได้ยอมผ่อนปรนให้ กับการนับถือศาสนาและความเชื่อต่างๆ ของประชาชนมากขึ้นอีกครั้ง ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ( ในเขตตะวันตกของจีน ) และศาสนาคริสต์จึงได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ชาวจีน ยังเชื่อถือในเรื่องตัวเลขนำโชคหมอดู และการพยากรณ์กันมาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ เฟินสุ่ยและตัวเลขนำโชค

                แนวคิดเรื่องพรหมลิขิตของจีนเริ่มมีขึ้นในยุคสังคมศักดินาที่ผู้คนเชื่อกันว่า"เทพเจ้า"           (จักรพรรดิ ) สามารถตัดสินชะตาของคนได้ แต่เมื่อเกิดกบฏโค่นล้มราชวงค์ลงได้สำเร็จ ความเชื่อที่ว่าจักรพรรดิ เป็นผู้ไร้เทียมทานก็พลอยดับสูญไปด้วย ประชาชนได้หันมาบูชาม้าและวัว จนนำไปสู่การสังเกตุเห็นว่า เป็นรูปร่าง ขน และสีผิวที่ต่างกันย่อมส่งผลให้สัตว์แต่ละประเภทมีความสามารถ อารมณ์ อายุที่ยืนยาวแตกต่างกันไป สุดท้ายจึงหันมาสังเกตุดูลักษณะของคนด้วยกันเองบ้าง


 

วันหยุดนักขัตฤกษ์

          งานเทศกาลพื้นบ้านของจีน เช่น เทศกาลตรุษจีนจะถือเอาวันตามปฏิทินทางจันทรคติเป็นหลัก ดังนั้นวันที่มีการจัดงานเทศกาลดังกล่าวขึ้นจึงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่เคยตรงกันเลยในแต่ละปี ส่วนวันหยุดราชการนั้นจะถือเอาวันตามปฏิทินของทางตะวันตกเป็นหลัก

1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่

กุมภาพันธ์ : วันตรุษจีน ( กำหนดวันในแต่ละปีไม่ตรงกัน )

8 มีนาคม : วันสตรีสากล

1 พฤษภาคม : วันแรงงานสากล

4 พฤษภาคม : วันเยาวชน

1 มิถุนายน : วันเด็ก

 


 

 


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  6,159
Today:  15
PageView/Month:  21

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com